แรงงานเฮ!รับปีใหม่บอร์ดค่าจ้างมีมติปรับขึ้น 400 บาท 4 จังหวัด 1 อำเภอ มีผล 1 ม.ค.68

Last updated: 23 ธ.ค. 2567  |  1139 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แรงงานเฮ!รับปีใหม่บอร์ดค่าจ้างมีมติปรับขึ้น 400 บาท 4 จังหวัด 1 อำเภอ มีผล 1 ม.ค.68

แรงงานเฮ!!รับปีใหม่ บอร์ดค่าจ้างมีมติปรับขึ้น 400 บาท 4 จังหวัด 1 อำเภอ มีผล 1 ม.ค.68

เมื่อเวลา 18.30 น.วันที่ 23 ธ.ค.นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ครั้งที่ 11/2567 ซึ่งมีกรรมการผู้แทนภาครัฐ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ที่ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างได้พิจารณาเห็นชอบ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 7 - 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) แบ่งเป็น 17 อัตรา ซึ่งพิจารณาจากค่าครองชีพและโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยมีอัตราสูงสุด คือ วันละ 400 บาท และอัตราต่ำสุด คือ วันละ 337 บาท ดังนี้ 1.กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ใน 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ได้แก่ จ.ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และอำเภอเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

2.กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 380 บาท ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา 3.กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราวันละ 372 บาท ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5) และ 4. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 67 จังหวัดที่เหลือให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ทั้งนี้กระทรวงแรงงานจะได้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ เป็นการปรับเพื่อให้แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น ซึ่งการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ จำนวน 3,760,697 คน สำหรับ ปี 2568 คณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้กระจายอำนาจการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไปยังภูมิภาค โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด รวม 77 คณะ เพื่อนำข้อเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดมาพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 มาตรา 87 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง

กลุ่มที่ 2 ด้านความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง กลุ่มที่ 3 ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยพิจารณาจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อให้ลูกจ้างมีค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้