"ดร.กัลยาณี"รวมพลสื่อศรีสะเกษ  ทำความดีด้วยหัวใจเนื่องใน"วันนักข่าว"

Last updated: 5 มี.ค. 2567  |  244 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"ดร.กัลยาณี"รวมพลสื่อศรีสะเกษ  ทำความดีด้วยหัวใจเนื่องใน"วันนักข่าว"

"ดร.กัลยาณี"นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวศรีสะเกษ รวมพล"ทำความดีด้วยหัวใจ"บริจาคสิ่งของเครื่องใช้แก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เนื่องใน"วันนักข่าว"


เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวศรีสะเกษ และผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ประจำจังหวัดศรีสะเกษ นำคณะผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดศรีสะเกษร่วมกันจัดกิจกรรม “ทำความดีด้วยหัวใจ“ บริจาคสิ่งของ-เครื่องใช้ ที่นอน-ผ้าห่ม-เสื้อผ้า และของใช้จำเป็นไปมอบให้กับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เนื่องในโอกาส 5 มีนาคม วันนักข่าว ประจำปี 2567 โดยมีนายพิสิษฐ์ สิริวิริยะธนา ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์/เวิร์คพอยท์/ช่อง 8/อมรินทร์ทีวี/เช้านี้ที่หมอชิตช่อง 7 นายบุญทัน ธุศรีวรรณ ผู้สื่อข่าว อปท.TV นิวส์ ศรีสะเกษ/NEWS 24 /Tiger TV/กลุ่มข่าวเนชั่นโพตส์/พิราบข่าว/ข่าวชัดประเด็นจริงTV ประจำจังหวัดศรีสะเกษ นายเสนาะ วรรักษ์ ผู้สื่อข่าวพิเศษสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 HD ประจำจังหวัดศรีสะเกษ นายชาญฤทธิ์ นามแสงผา TVช่อง 9 และนางสาววนิดา คัลณา ไทยรัฐทีวี และนางสาวลักขนา กงแก้ว เคเบิ้ลทีวีศรีสะเกษ โดยมีนางพนาลี ทองประเสริฐ ผู้ปกครองสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งปรือใหญ่ ให้การต้อนรับ และเป็นผู้แทนรับมอบ ซึ่งมีผู้ใช้บริการสถานคุ้มครองแห่งนี้ทั้งสิ้น จำนวน 352 คน และมีเจ้าหน้าที่รวม 28 คน



ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ กล่าวว่า ที่จัดกิจกรรมในวันนี้ อยากให้นักข่าวมีความสามัคคี กลมเกลียวกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี และความเจริญก้าวหน้าของอาชีพสื่อสารมวลชน เพราะประชาชนต้องการนักข่าวที่มีอุดมการณ์ ไม่เป็นเครื่องมือของใคร ซึ่งนักข่าวที่มาร่วมทำกิจกรรม CSR ล้วนเป็นผู้มีความยุติธรรมในหัวใจ และต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังเป็นการให้สื่อมวลชนได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนแนวทางในการทำงานกัน รวมทั้งเป็นการเชิดชูวิชาชีพนักข่าว ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่มีความเสียสละ อดทน เนื่องจากอาชีพนักข่าวเป็นอาชีพที่ไม่มีวันหยุด โดยเฉพาะทุกวันนี้การสื่อสารไร้พรมแดนทุกคนก็เป็นนักข่าวได้ ดังจะเห็นจากเฟซบุ๊ก หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ



การใช้สื่อควรต้องรับผิดชอบต่อสังคม แต่หากเป็นสื่อในวิชาชีพ เรามีองค์กรคอยตรวจสอบเนื้อหาข่าว การหยิบยกนำเสนอออกไปจะรับผิดชอบทุกข้อความ แต่หากไม่มีองค์กรหรือเป็นสื่อตัวจริงก็มักจะเกิดปัญหาการฟ้องร้องเป็นคดีความในภายหลัง ทำให้ทุกวันนี้นักข่าวยิ่งต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้นเพราะโลกโซเชียลฯจะโพสต์ข่าวที่ทำให้สื่อมวลชนต้องติดตาม เพื่อทำการพิสูจน์ตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ.

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ...ทีมข่าวจ.ศรีสะเกษ. 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้