Last updated: 26 ก.ย. 2563 | 381 จำนวนผู้เข้าชม |
กมธ.ปกครองท้องถิ่น รับฟังปัญหาการจัดเก็บภาษี และการเตรียมเลือกตั้งทน.นครปฐม
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ห้องประชุมชั้น3 สำนักงานเทศบาลนครนครปฐม พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่นวุฒิสภา นายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา(คนที่2) พร้อมคณะเดินทางมาตรวจเยี่ยมและรับฟังการเตรียมการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงบประมาณ และปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยมีนายเอกพันธุ์ คุปตวัช นายกเทศบาลนครนครปฐมให้การต้อนรับ และมีนายศรีศักดิ์ สังข์เฉย ปลัดเทศบาลนครนครปฐม รายงานถึงความพร้อมในการเตรียมการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น เทศบาลนครนครปฐม และนายธนาวุธ ดอนจันทร์ทอง รองปลัดเทศบาลนครนครปฐม รายงานเรื่องการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตเทศบาลนครนครปฐม
นายศรีศักดิ์ สังข์เฉย ปลัดเทศบาลนครนครปฐม กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งสมาชืกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลนครนครปฐม ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 57,169 คน (อ้างอิงจากผู้มีสิทธเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ 24มีนาคม2562) มีสมาชิกสภาฯ ได้ 24 คน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 4 เขตๆ ละ 6 คน มีหน่วยเลือกตั้ง 103 หน่วย โดยตั้งงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2564 เพื่อรองรับการจัดการเลือกตั้งสมาชืกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ไว้ 3,000,000 บาท ในส่วนของการแบ่งเขตนั้นจะพยายามไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพื่อความสะดวกของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ
ด้านนายธนาวุธ กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตเทศบาลนครนครปฐมว่า จากผลของการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2563นั้น เทศบาลนครนครปฐมได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดิน ละสิ่งปลูกสร้างจากการประเมินภาษี การยกเว้นภาษี และการจัดเก็บภาษี คือระเบียบ หลักกณฑ์ แนวทางวิธีการปฏิบัติ และกฎหมายรองบางฉบับดำเนินการเสร็จล่าซ้ำทำให้การเตรียมการ และการจัดทำข้อมูลไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ตลอดจนความรู้ ความเข้าใจข้อกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกับประชาชนยังมีข้อโต้แย้งในทางปฏิบัติ และหน่วยงานที่กำกับการปฏิบัติงานยังไม่มีหนังสือชักซ้อมความชัดเจนระเบียบวิธีปฏิบัติรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดปัญหาเรื่องการจัดส่งเอกสารไม่ถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก เนื่องจากที่เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนใช้เป็นข้อกล่าวอ้าง และไม่มาติดต่อเพื่อแสดงตนเพื่อตรวจสอบข้อมูล และหน่วยงานที่กำกับดูแลยังไม่มีระเบียบรองรับการให้บริการเพื่อเพิ่มช่องทางการรับชำระภาษี หรือค่าธรรมเนียมฯต่าง ๆ ผ่านระบบบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว นอกเหนือจากการชำระผ่านระบบธนาคารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ปัญหาดังกล่าวทำให้เทศบาลนครนครปฐม มีรายได้ลดลงจากการที่กำหนดให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินหลายประเภทได้รับ การยกเว้น หรือกำหนดให้ลดภาษี ประเภท แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เช่น ที่ดินทำการเกษตรกรรม เสารับ-ส่งสัญญาคอนกรีต ส่งผลให้เทศบาลมีรายได้ลดลง รวมไปถึงกิจการที่มีลักษณะเป็นบ้านให้เช่า หอพัก และธุรกิจบ้านเช่าเพื่ออยู่อาศัย และรูปแบบ แบบพิมพ์ที่บังคับใช้ระเบียบ มีรายละเอียดไม่เชื่อมโยงและไม่ครอบคลุม เช่นจากแบบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้ง (แบบ ภ.ต.ส..) กับแบบแสดงรายการคำนวณภาษีที่ดิและสิ่งปลูกสร้าง (ภ.ค.ส.๗) ไม่มีระบุที่ตั้ง บ้านเลขที่ ลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง ส่งผลให้ประชาชนเกิดความสับสน และไม่เข้าใจ ตรวจสอบได้ยาก และโปรแกรมด้านงานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางส่วนยังไม่รองรับและเชื่อมโยงกับการจัดเก็บกาษีรูปแบบใหม่ เช่น โปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน (LTAX 3000) และโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LTAX GIS) เป็นต้น.